เกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ๔ ระดับ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔

18 กันยายน 2564
  •    7,327

เกณฑ์ประเมินผลการดำเนินงาน 

โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข 

ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๔

 

เกณฑ์ขั้นต้น "กำลังดำเนินการมุ่งสร้างมาตรฐาน"

 

คุณสมบัติ วัดนั้น ต้อง

 

 สมัครเข้าร่วมโครงการฯ และเริ่มต้นขับเคลื่อนดำเนินการโครงการฯ

 

๑) ประเภท “มุ่งสร้างมาตรฐาน”

คุณสมบัติ วัดนั้น ต้อง

√ ผ่านตัวชี้วัดการบริหารจัดการโครงการฯ ทั้งหมด ๕ ขั้นตอน

ดังนี้

๑) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ

๒) ประกาศนโยบายโครงการฯ

๓) การฝึกอบรมความรู้ ๕ส และกิจกรรมโครงการฯ

๔) การสำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผัง และวิเคราะห์พื้นที่

๕) กำหนดแผนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่

 

 

 

๒) ประเภท “สร้างมาตรฐานดี”

 คุณสมบัติ วัดนั้น ต้อง

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการบริหารจัดการโครงการฯ ทั้งหมด ๗ ขั้นตอน

ดังนี้

๑) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ

๒) ประกาศนโยบายโครงการฯ

๓) การฝึกอบรมความรู้ ๕ส และกิจกรรมโครงการฯ

๔) การสำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผัง และวิเคราะห์พื้นที่

๕) กำหนดแผนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่

๖) การลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day (ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ จึงอาจไม่สะดวกในการรวมกลุ่มบุคคลจัดกิจกรรมลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day ดังนั้น เกณฑ์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงปรับเป็นมีการลงมือปฏิบัติในรูปแบบร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุ-สามเณรภายในวัด/ประชาชนชุมชน รวมถึงการดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ภายในวัดและชุมชน)

๗) การสรุปผล

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการพัฒนาพื้นที่ อย่างน้อย ๓ พื้นที่ จาก ๕ พื้นที่

ตามที่โครงการฯ แนะนำดำเนินการ

ดังนี้

√√√ อย่างน้อย ๓ พื้นที่ จาก ๕ พื้นที่

   ๑) ป้ายชื่อ, บริเวณหน้าวัด, แผนผังวัด

   ๒) การจัดการจราจร, ป้ายจราจร, ที่จอดรถ

   ๓) การจัดระบบคลังวัสดุสงฆ์, ระบบควบคุมเบิก-จ่ายสิ่งของ

   ๔) ห้องน้ำ

   ๕) การจัดการขยะ

 

 

๓) ประเภท “สร้างมาตรฐานดีเด่น”

คุณสมบัติ วัดนั้น ต้อง

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการบริหารจัดการโครงการฯ ทั้งหมด ๗ ขั้นตอน

ดังนี้

๑) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ

๒) ประกาศนโยบายโครงการฯ

๓) การฝึกอบรมความรู้ ๕ส และกิจกรรมโครงการฯ

๔) การสำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผัง และวิเคราะห์พื้นที่

๕) กำหนดแผนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่

๖) การลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day (ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ จึงอาจไม่สะดวกในการรวมกลุ่มบุคคลจัดกิจกรรมลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day ดังนั้น เกณฑ์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงปรับเป็นมีการลงมือปฏิบัติในรูปแบบร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุ-สามเณรภายในวัด/ประชาชนชุมชน รวมถึงการดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ภายในวัดและชุมชน)

๗) การสรุปผล

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการพัฒนาพื้นที่ ทั้งหมด ๕ พื้นที่

ตามที่โครงการฯ แนะนำดำเนินการ

ดังนี้

๑) ป้ายชื่อ, บริเวณหน้าวัด, แผนผังวัด

๒) การจัดการจราจร, ป้ายจราจร, ที่จอดรถ

๓) การจัดระบบคลังวัสดุสงฆ์, ระบบควบคุมเบิก-จ่ายสิ่งของ

๔) ห้องน้ำ

๕) การจัดการขยะ

 

 

 

๔) ประเภท “สร้างมาตรฐานดีเยี่ยม”

คุณสมบัติ วัดนั้น ต้อง

 

√ ผ่านตัวชี้วัดพันธกิจของโครงการฯ ทั้งหมด ๓ ระดับ

ดังนี้

๑) การพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ

๒) การพัฒนาพื้นที่ทางสังคม และการเรียนรู้

๓) การพัฒนาพื้นที่จิตใจ และปัญญา

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการบริหารจัดการโครงการฯ ทั้งหมด ๗ ขั้นตอน

ดังนี้

๑) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการฯ

๒) ประกาศนโยบายโครงการฯ

๓) การฝึกอบรมความรู้ ๕ส และกิจกรรมโครงการฯ

๔) การสำรวจพื้นที่ จัดทำแผนผัง และวิเคราะห์พื้นที่

๕) กำหนดแผนการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่

๖) การลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day (ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ จึงอาจไม่สะดวกในการรวมกลุ่มบุคคลจัดกิจกรรมลงมือปฏิบัติ Big Cleaning Day ดังนั้น เกณฑ์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จึงปรับเป็นมีการลงมือปฏิบัติในรูปแบบร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุ-สามเณรภายในวัด/ประชาชนชุมชน รวมถึงการดำเนินการตามมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ภายในวัดและชุมชน)

๗) การสรุปผล

 

√ ผ่านตัวชี้วัดการพัฒนาพื้นที่ ทั้งหมด ๙ พื้นที่ (แนะนำดำเนินการ+เพิ่มเติม)

ดังนี้

๑) ป้ายชื่อ, บริเวณหน้าวัด, แผนผังวัด

๒) การจัดการจราจร, ป้ายจราจร, ที่จอดรถ

๓) การจัดระบบคลังวัสดุสงฆ์, ระบบควบคุมเบิก-จ่ายสิ่งของ

๔) ห้องน้ำ

๕) การจัดการขยะ

๖) สภาพแวดล้อมทั่วไป, พื้นที่เปิดโล่งภายในวัด (สะอาด เรียบร้อย ปลอดภัย)

๗) ระบบไฟฟ้า, การป้องกันอัคคีภัย

๘) โรงครัว

๙) อาคารเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด       

 

 

บรรยาย เรื่อง "ตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ประจำปี ๒๕๖๔" โดย พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร. อนุกรรมการ และเลขานุการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ส่วนกลาง 

 

">

 

ที่มา : การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ระดับหน หนใต้ ประจำปี ๒๕๖๔ ผ่านช่องทาง Online สื่ออิเล็คทรอนิกส์ระบบ Zoom และ Facebook (วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔)


  •    7,327